<< Go Back

Flash คืออะไร
หากกล่าวกันถึงโปรแกรม Flash ในปัจจุบัน ในแวดวงของนักพัฒนาเว็บไซต์ นักออกแบบ Multimedia หรือเหล่าคนทำ Animation คงไม่มีใครไม่รู้จักเจ้าโปรแกรมนี้เป็นแน่ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสร้าง Animation ที่ทรงคุณภาพ และสามารถสร้างงานที่ตอบโต้กับผู้ใช้ได้อย่างยอดเยี่ยม อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักในฝั่งของผู้ชมในฐานะ Animation ตื่นตาตื่นใจที่ทำให้การท่องเว็บไซต์ หรือการนั่งชม Presentation ไม่ใช่ภาพนิ่งๆ
งาน Flash นั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ งาน Online และงาน Offline ซึ่งมีงานประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
งาน Flash แบบ Online

  1. Web Banner
    งานป้ายโฆษณาบนเว็บไซต์พัฒนามาจาก Gif Animation ที่โหลดช้าและคุณภาพต่ำในสมัยก่อน มาเป็น Animation ของ Flash ที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องมีขนาดเล็กและยังมี Graphic ที่สวยงาม
  2. Web Animation
    ส่วนประกอบของเว็บไซต์ที่เคยใช้เป็นภาพนิ่ง สามารถสื่อสาร และดึงดูดความสนใจได้มากขึ้นด้วย Flash
  3. Web Introduction
    ถ้า 1 ภาพแทนคำพูด 1000 คำ ภาพเคลื่อนไหวยอมพูดได้มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว การใช้ภาพเคลื่อนไหวอธิบายบุคลิก ตัวตนของเว็บไซต์เป็นอีกอย่างที่ Flash ทำได้ดีและได้รับความนิยมอย่างสูง
  4. Flash Website
    ถ้าไม่ใช้เว็บไซต์จะไม่เพียงแค่ตกแต่งประดับประดาด้วย Flash เท่านั้น มันสามารถใช้ทำเว็บไซต์ทั้งกระบวนการได้ด้วย ไม่จำกัดแค่เพียง Animation และเนื้อหาอย่างเดียว หากยังการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล และการสร้าง Application ที่มีรูปแบบเฉพาะตัวอีกด้วย

    งาน Flash แบบ Offline

    1. Product Introduction
      งานเปิดตัวสินค้า งาน Event งานคอนเสิร์ต งานแต่งงาน ที่จะต้องมีการนำเสนอความน่าสนใจของสินค้า หรือกิจกรรมต่างๆ การทำ Animation อธิบายวิธีการใช้ หรือแนะนำกิจกรรมลูกค้าด้วยโปรแกรม Flash ก็เป็นทางเลือกใหม่ที่กำลังมาแรง ด้วยวิธีการที่สะดวก และประหยัดค่าใช้จ่ายกว่างานด้าน VDO
    2. Presentation, CD Interactive
      เมื่องาน Flash สามารถตอบโต้กับผู้ใช้งานได้ การสร้างงานแบบ Presentation ก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับ flash อีกทั้งยังมีประโยชน์ในเรื่องความยืดหยุ่นของการเขียนโปรแกรม จึงเปิดโอกาสให้สร้างงาน Interactive แบบจินตนาการกว้างไกล โดยไม่ยึดติดอยู่ในโครงร่างตายตัวเหมือนกับ PowerPoint อีกต่อไป
    3. Application
      ในขั้นสูง การเขียนโปรแกรมช่วยให้สามารถสร้าง Application เฉพาะทางขึ้นเอง เอาไว้ใช้ส่วนตัว หรือใช้กันเองในบริษัท

      ทั้งนี้ยังมีงานที่สามารถใช้ได้ทั้ง Online และ Offline ได้อีกด้วย

    1. Full Animation, Cartoon, E-Card, Music Video
      ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Cartoon บนเว็บไซต์หรือการทำ Music Video รวมถึง Animation ที่ส่งไปตามอีเมล์ ในลักษณะ Electronic-Cards งานประเภทเหล่านี้จะใช้โปรแกรม Flash เป็นตัวเลือกแรกๆ ด้วยเหตุที่กล่าวข้างต้น
    2. Games
      การพัฒนาในส่วนของการเขียนโปรแกรมในช่วงหลังๆ ทำให้ Flash สามารถสร้างเกมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่ใช้เกมที่ขายได้อย่างจริงจัง แต่มันสามารถได้ซึ่ง flash ทำให้การสร้างเกมไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป

เกี่ยวกับทางผู้ผลิตและเวอร์ชั่นของโปรแกรม Flash
ข่าวใหญ่ในแวดวง Web Designer, Graphic Designer หรือ Animator ในช่วงที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นการที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้าน Graphic Editor Software อย่าง Adobe ที่เป็นเจ้าของ Software ประจำเครื่องของ Graphic Designer อย่าง Photoshop และ Illustrator ได้ซื้อ บริษัท Macromedia เจ้าของ Software ที่เป็นมือฉมังทางด้านเว็บไซต์และเป็นผู้ผลิต Flash เวอร์ชั่นใหม่ออกมาพร้อมกับหลายๆ โปรแกรมภายใต้ Series ที่ชื่อ  CS5 เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ Adobe นั่นเอง
Adobe Flash CS5 หรือ Flash เวอร์ชั่น 11 นั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้าน Graphic ของ Adobe อย่างมากมาย ทำให้การสร้าง Graphic ใน flash นั้นสะดวกสบายกว่าเวอร์ชั่นก่อน อีกทั้งยังรองรับเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงอย่างการใช้ VDO  และการสร้าง Application สำหรับโทรศัพท์มือถือเป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งความสามารถต่างๆ เหล่านี้จะได้กล่าวถึงในบทต่อๆ ไป


Flash ใช้ทำอะไรได้บ้าง
โปรแกรม Flash เป็นโปรแกรมยอดนิยมสำหรับการสร้างผลงานได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนแอนิเมชัน, เกม, สื่อโฆษณาบนเว็บไซต์ หรืออินเตอร์เฟสแผ่นซีดีที่มีการตอบโต้กับผู้ใช้ โดยในหัวข้อนี้เราจะมาทำความรู้จักกับความสามารถของโปรแกรม Flash ไว้เป็นแนวทางเพื่อนำไปพัฒนาชิ้นงานต่อไป
ความสามารถในการสร้างชิ้นงาน Interactive
ชิ้นงาน Interactive คือ ชิ้นงานที่มีการตอบสนองกับผู้ใช้ เช่น ผู้ใช้สามารถคลิกเลือกเมนูต่างๆ ได้ ซึ่งส่วนใหญ่งานประเภท Interactive ที่สร้างด้วยโปรแกรม Flash นั้นจะนำไปใช้เป็นสื่อการสอน (E-Learning) หรือหน้าจอควบคุมการทำงานของแผ่น CD เป็นต้น

ความสามารถในการสร้างชิ้นงาน Animation
การสร้าง Animation หรือภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวนั้น ถือเป็นหัวใจหลักของการทำงานในโปรแกรม Flash เนื่องจากมีเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย จึงทำให้โปรแกรม Flash สร้างผลงาน Animation ได้ง่ายกว่าโปรแกรมอื่น ซึ่งเราสามารถพบเห็นงานแอนิเมชันได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสื่อโฆษณา (Banner) บนเว็บไซต์ หรือการ์ตูนแอนิเมชันต่างๆ

ความสามารถในการสร้างเว็บไซต์ (Website)
งานประเภทเว็บไซต์ ก็เป็นการสร้างชิ้นงานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้โปรแกรม Flash สร้างผลงานได้ เนื่องจากโปรแกรม Flash สามารถสร้างเว็บไซต์ได้สวยงาม และสร้างลูกเล่นต่างๆ ได้ง่ายกว่าการใช้โปรแกรมอื่น แต่มีข้อเสียคือ เว็บไซต์ที่สร้างด้วยโปรแกรม Flash แก้ไขข้อมูลได้ยาก และขนาดของไฟล์เว็บไซต์จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ดังนั้น หากต้องการสร้างเว็บไซต์ควรพิจารณาถึงรูปแบบของเว็บไซต์ก่อนว่าเหมาระสมที่จะสร้างด้วยโปรแกรม Flash หรือไม่

ความสามารถในการสร้างเกม (Game)
ปัจจุบันได้มีเกมที่สร้างจากโปรแกรม Flash ออกมาอย่างแพร่หลายตามเว็บไซต์ต่างๆ เนื่องจากโปรแกรม Flash มีเครื่องมือช่วยสร้างองค์ประกอบต่างๆ ของเกมให้สวยงาม, มีเครื่องมือสำหรับใส่คำสั่งควบคุมการเล่นเกม อีกทั้งไฟล์เกมที่สร้างออกมามีขนาดเล็ก ทำให้อัพโหลดขึ้นสู่เว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว

เตรียมตัวอย่างไร สำหรับการสร้างแอนิเมชัน
สำหรับการเตรียมตัวในการทำงานโปรแกรม Flash CS5 นั้น จะต้องเริ่มจากวางโครงร่างเรื่องราวแอนิเมชัน หลังจากนั้นก็จะสร้างตัวละครให้เหมาะสมกับเรื่องราว สร้างฉากแล้วนำทุกอย่างมาประกอบกันให้เป็นชิ้นงาน

วางโครงร่างสำหรับสร้างงานแอนิเมชัน (Storyboard)
การวางโครงร่าง (Storyboard) คือการคิดเนื้อเรื่องขึ้นมา และวาดออกมาเป็นภาพตั่งแต่ต้นจนจบอย่างคร่าวๆ ซึ่งก็เหมือนกับการวางแผนการทำงานในเบื้องต้น เพื่อให้ผลงานที่ออกมาเป็นระบบและรวดเร็ว

สร้างตัวละครสำหรับงานแอนิเมชัน
เมื่อเราสร้างผลงานแอนิเมชันขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก็คือ การสร้างตัวละครเพื่อเป็นตัวดำเนินเรื่องราว โดยต้องคิดเนื้อเรื่องขึ้นมาก่อน ว่าเราต้องการที่จะสร้างเรื่องราวอะไรขึ้นมา และค้นหาเอกลักษณ์ของตัวละครนั้นๆ เพื่อให้ตัวละครมีความโดดเด่นและน่าสนใจ แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีทักษะทางด้านการวาดรูปอาจขอให้เพื่อน หรือคนรู้จักวาดรูปให้นำมาสแกน แล้วปรับแต่งเพื่อใช้งานในโปรแกรม Flash ก็ได้

  1. วาดโครงร่างของตัวละครด้วยดินสอ จากนั้นนำไปสแกน
  2. ใช้เครื่องมือที่มีในโปรแกรม Flash ปรับต่างภาพตัวละคร
  3. ลงสี และเก็บรายละเอียดให้กับตัวละคร

มีอะไรใหม่ใน Flash CS5
ในโปรแกรม Flash CS5 แตกต่างจากโปรแกรม Flash เวอร์ชันก่อนหน้าหลายส่วนตั้งแต่หน้าจอโปรแกรม และเครื่องมือใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นเราจะได้เรียนรู้กันในส่วนนี้

หน้าตาของโปรแกรมที่เปลี่ยนไป (User Interface)
สำหรับโปรแกรม Flash CS5 เวอร์ชันล่าสุด หน้าตาของโปรแกรมได้เปลี่ยนไปจากเดิม เปลี่ยนตำแหน่งการวางแถบเครื่องมือต่างๆ ทั้ง Timline, Scene และ Panel ต่างๆ ทำให้ผู้ที่ใช้งานนั้นสามารถทำงานได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น

เครื่องมือใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา
เมื่อเปิดโปรแกรม Flash CS5 เราจะเห็นว่าเครื่องมือใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาหลายชิ้น โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวดหลักๆ ดังต่อไปนี้

เครื่องมือสำหรับปรับแต่งภาพ 3 มิติ
เครื่องมือ (3D Rotation Tool) และเครื่องมือ (3D Translation Tool) เป็นเครื่องมือที่สามารถปรับต่างภาพ หมุน บิด ให้ออกมาเป็นรูปแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นความสามารถที่ทำให้เราสร้างงานแอนิเมชันที่ดูเป็นมิติมากยิ่งขึ้น

 เครื่องมือสำหรับสร้างหัวแปรงทาสี
เครื่องมือ (Deco Tool) เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างวัตถุที่มีลักษณะคล้ายๆ กับเครื่องมือแปรงทาสี (Brush) แต่เราสามารถสร้างหัวแปรงใหม่ โดยเปลี่ยน Symbol ให้กลายเป็นหัวแปรงได้

เครื่องมือสำหรับสร้างโครงกระดูก
เครื่องมือสำหรับสร้างโครงกระดูก (Bone Tool) และเครื่องมือ (Bind Tool) เป็นเครื่องมือที่สามารถเชื่อมต่อโครงกระดูกเพื่อใส่เข้าไปบนการ์ตูน ทำให้การ์ตูนมีการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระมากยิ่งขึ้น โดยขั้นตอนการใช้งานของเครื่องมือ (Bone Tool)

พาแนล Motion Editor
พาแนล Motion Editor เป็นลูกเล่นใหม่ของ Flash CS5 เพราะจะทำให้เราสามารถปรับแต่งรายละเอียดของการเคลื่อนไหวได้ละเอียดขึ้น

คำสั่ง Motion Tween รูปแบบใหม่
สำหรับคำสั่ง Motion Tween ในโปรแกรม Flash เป็นเวอร์ชันล่าสุดนี้จะต่างออกไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในลักษณะที่ต่างกันแล้ว เราจะพบว่ามีลูกเล่นใหม่ๆ ที่เสริมขึ้นมาอีกมากมาย


รูปแบบของไฟล์รูปภาพกราฟิกที่ใช้ในการตกแต่งนั้นมีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่จะใช้เกณฑ์ไหนมาแบ่ง ในที่นี้จะแบ่งรูปภาพตามระบบของโปรแกรมกราฟิก โดยเฉพาะในโปรแกรม Flash นั้นแบ่งออกเป็น 2 อย่าง เมื่อพิจารณาจากรูปเดียวกันแต่รูปแบบต่างกันเมื่อขยายภาพจะมีรายละเอียด ดังนี้

ภาพบิตแมป หรือราสเตอร์ (Bitmap or Raster)
เป็นภาพที่เกิดจากชิ้นส่วนเล็กๆ ของภาพมาเรียงต่อกัน ซึ่งความละเอียดของชิ้นส่วนเหล่านี้จะเล็กขนาดไหน มีการกำหนดค่าความละเอียดของหน้าจอ ภาพแบบนี้จะเป็นภาพที่มีความละเอียดของสีสันมาก แต่เมื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นก็จะเห็นรอยต่อของภาพคล้ายขั้นบันไดเหมือนกับรูปถ่ายที่เราไปขยายจากขนาด 4x6 นิ้ว ไปเป็น 8x10 นิ้ว ก็จะเห็นแกนของรูปภาพขยายขึ้นอย่างชัดเจน รูปแบบที่พบอยู่บ่อยๆ คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล *.BMP นั่นเอง
ภาพเวคเตอร์ (Vector Picture)
จะเป็นภาพที่เกิดจากลายเส้น แทนที่จะเป็นชิ้นส่วนภาพ ดังนั้นเมื่อทำการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นโอกาสที่แกนของภาพจะหยาบมีน้อย ทำให้ขอบของรูปภาพแทบจะไม่เห็นเป็นขั้นบันไดเลย จึงเหมาะสำหรับการสร้างงานกราฟิกที่ต้องการความสวยงามมากๆหรือการสร้างตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหวในเว็บไซต์อย่างที่เห็นกันทั่วไป สำหรับโปรแกรม Flash แล้วส่วนใหญ่จะทำงานกับภาพแบบเวคเตอร์เป็นส่วนใหญ่โดยเรียกชื่อว่า ซิมโบล(Symbol)

การเปิดโปรแกรม Adobe Flash  CS5 ขึ้นมาใช้งาน

  1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start บนแถบงานจะเกิดป๊อปอัพเมนูของโปรแกรม
  2. นำเมาส์เลือกคำสั่ง All  Programs เลื่อนเมาส์ไปที่ Adobe Master Collection  CS5> Adobe Flash  CS5 Professional
  3. คลิก 1 ครั้งที่ Adobe Flash  CS5 ก็จะทำการเปิดหน้าต่างโปรแกรมขึ้นมาจะปรากฏหน้าจอดังรูป

รูปแบบการทำงาน
ในขั้นตอนนี้ การเรียนใช้งานโปรแกรม จะพบหน้าจอ Welcome Screen สำหรับเลือกรูปแบบเริ่มต้นการทำงานดังนี้

Open a Recent Item เป็นการเปิดไฟล์เก่าที่สร้างไว้แล้ว โดยคลิกเลือกรายชื่อที่แสดง (เรียงจากการบันทึกไฟล์ครั้งหลังสุดเป็นต้นไป สูงสุด 8 ไฟล์) หรือคลิก Open เพื่อเปิดไฟล์อื่น
Create New สร้างไฟล์ใหม่ โดยคลิกเลือกรูปแบบของไฟล์ที่ต้องการสร้าง เช่น เลือก Flash File (ActionScript 3.0) เพื่อสร้างไฟล์มูฟวี่ใหม่ที่มีโหมดการเขียน ActionScript เป็นเวอร์ชั่น 3 เป็นต้น สำหรับเนื้อหาในเล่มนี้จะแนะนำให้ใช้ ActionScript 2.0 เป็นหลัก
Create New สร้างไฟล์ใหม่ โดยคลิกเลือกรูปแบบของไฟล์ที่ต้องการสร้าง เช่น เลือก Flash File (ActionScript 3.0) เพื่อสร้างไฟล์มูฟวี่ใหม่ที่มีโหมดการเขียน ActionScript เป็นเวอร์ชั่น 3 เป็นต้น สำหรับเนื้อหาในเล่มนี้จะแนะนำให้ใช้ ActionScript 2.0 เป็นหลัก

ให้คลิกเลือกหัวข้อ  Flash File (ActionScript 2.0) จะพบกับหน้าจอดังรูป  



<< Go Back