

บนหน้า Start พื้นฐานจะมีแอพใหม่ๆ และแอพที่ติดตั้งเพิ่มเติม รวมถึงโปรแกรม ชุดอย่าง Microsoft office และ Adobe Photoshop แต่ถ้าคุณต้องการใช้โปรแกรมรุ่นเก่าของ Windows จะต้องสั่งให้แสดงแบบ All apps แล้วเลื่อนไปทางขวาสุดของหน้า Start เลยทีเดียว จึงจะเจอโปรแกรมต่างๆที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มของ Windows Accessories
โปรแกรม Sticky Notes
เป็นโปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อความต่างๆ เพื่อใช้เตือนความจำ , เหตุการณ์พิเศษต่างๆ หรือ ใช้ส่งข้อความไปยังบุคคลที่ผ่านไปมา ในขณะที่เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อยู่ก็ได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการใช้งานโปรแกรม Sticky Notes ทำได้ดังนี้

1. กด เพื่อค้นหา
2. พิมพ์คำว่า Sticky



โปรแกรมเครื่องคิดเลข Calculator
โปรแกรมเครื่องคิดเลขประจำ Windows ซึ่งจะมีรูปแบบเครื่องคิดเลขให้เลือกใช้ 4 แบบ คือ Standard ขนาดเล็ก , Scientific วิทยาศาสตร์ , Programmer สำหรับโปรแกรมเมอร์เอาไว้ถอดเลขฐานต่างๆ และ Statistics ตัวเลขและการคำนวณทางสถิติ ซึ่งทำได้ดังนี้

1. กด เพื่อค้นหา
2. . พิมพ์คำว่า Calculator


รูปแบบ Scientific
 |
 |
 |
รูปแบบ Standard |
รูปแบบ Statistics |
รูปแบบ Programmer |


โปรแกรม Snipping Tool
ปกติหากต้องการภาพที่ปรากฎอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เราจะใช้วิธีกดปุ่ม PrintScreen หรือ <PrtScr> นั่นเอง แต่การใช้ปุ่มนี้จะจับภาพได้เฉพาะหน้าจอเต็มๆ หรือจับภาพได้เฉพาะหน้าต่างที่กำลังทำงานอยู่ ( กดปุ่ม <AIt + PrtScr> ) ดังนั้น Windows 8 จึงมีโปรแกรมสำหรับจับภาพหน้าจอโดยเฉพาะ ซึ่งมีความสามารถมากกว่าการใช่ปุ่ม PrintScreen ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้

1. กด เพื่อค้นหา
2. พิมพ์คำว่า Snipping Tool
หน้าต่างของโปรแกรม Snipping Tool

Free-form Snip |
เป็นการจับภาพตามต้องการ โดยการคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากเมาส์ล้อมรอบบริเวณที่ต้องการจับภาพ

|
Rectangular Snip |
เป็นการจับภาพในลักษณะที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม โดยที่คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากผ่านบริเวณที่ต้องการจับภาพ

|
Window Snip |
เป็นการจับภาพหน้าต่างโปรแกรมต่างๆ โดยใช้เมาส์คลิกเลือกที่หน้าต่าง

|
Full-screen Snip |
เป็นการจับภาพหน้าจอทั้งหน้า โดยเมื่อคลิกเลือกที่รูปแบบ Full-screen Snip แล้ว โปรแกรมจะทำการจับภาพทั้งหน้าจอให้ทันที

|


โปรแกรม Magnifier
เป็นโปรแกรมที่ใช้ขยายหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งใน Windows 7 ก่อนหน้านี้ก็มีเช่นกัน โดยจะทำงานคล้ายกับว่ามีแว่นขยายส่องอยู่ที่หน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้คนที่มีปัญหาสายตา หรือ คนที่ใช้เครื่องที่มีหน้าจอเล็ก อย่างเช่น โน๊ตบุ๊ค หรือ เนตบุ๊คนั้น ทำงานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งมีการทำงานดังนี้

1. กด เพื่อค้นหา
2. พิมพ์คำว่า Magnifier



โปรแกรม Sound Recorder
ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น เชื่อว่าการใช้โปรแกรมสำหรับบันทึกเสียงก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้หลายคนอาจจำเป็นต้องหามาใช้งาน ซึ่งหากเป็นการบันทึกเสียงแบบง่ายๆนั้น ใน Windows 8 ก็ได้เตรียมโปรแกรมสำหรับใช้งานเรื่องนี้โดยเฉพาะมาให้ โดยมีวิธีการใช้งานดังนี้

1. กด เพื่อค้นหา
2. พิมพ์คำว่า Sound Recorder



โปรแกรม Paint
โปรแกรม Paint เป็นโปรแกรมที่ใช้วาดภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการใช้เมาส์แทนพู่กัน ซึ่งโปรแกรม Paint เวอร์ชั่นใหม่นี้ สามารถปรับแต่ง และ วาดรูปได้ดีกว่าเดิม สามารถเปลี่ยนรูปภาพธรรมดา ให้กลายเป็นรูปคล้ายภาพที่วาดด้วยดินสอ หรือ กลายเป็นรูปสีน้ำก็ได้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

1. กด เพื่อค้นหา
2. พิมพ์คำว่า Paint

ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Paint

ไอคอนโปรแกรม |
แสดงสัญลักษณ์ของโปรแกรม เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏเมนูควบคุมหน้าต่างขึ้นมา หรือ จะใช้วิธีกดปุ่ม Alt + spacebar ก็ได้ |
Quick access Toolbar |
ใช้เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น New , Open , Save , Print Preview เป็นต้น |
Title bar |
ส่วนที่บอกชื่อของเอกสาร และ ชื่อโปรแกรม |
ปุ่มควบคุมหน้าต่าง |
เป็นปุ่มที่ใช้ควบคุมหน้าต่างโปรแกรม ซึ่งจะเป็นปุ่มที่ทำหน้าที่ เหมือนคำสั่งในไอคอนโปรแกรม คือ ปุ่มย่อ ขยาย ปิด หน้าต่างโปรแกรม |
ปุ่ม Paint |
เป็นปุ่มสำหรับเรียกใช้คำสั่ง ซึ่งคำสั่งก็จะเหมือนๆกับใน Quick access Toolbar จะแตกต่างตรงที่มีบางคำสั่งเพิ่มเติมขึ้นมามากกว่า Quick access Toolbar เท่านั้น |
แท็บ Home และ View |
เป็นที่เก็บรวบรวมคำสั่งต่างๆไว้ ซึ่งจะแบ่งคำสั่งออกเป็นกลุ่มๆอีกทีหนึ่ง |
Ribbon |
กลุ่มของคำสั่งต่างๆที่ใช้ในโปรแกรม โดยจะแบ่งออกเป็นแท็บ |
พื้นที่ทำงาน |
ใช้สำหรับวาดภาพต่างๆ |
Status bar |
ใช้บอกสถานะของไฟล์รูปภาพ เช่น ขนาดของรูป รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ในการย่อ หรือ ขยายหน้าต่างของโปรแกรมด้วย |
กลุ่มคำสั่งต่างๆ ที่อยู่ในแท็บ Home
ในโปรแกรม Paint เวอร์ชั่นนี้ ปุ่มคำสั่งต่างๆจะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่แท็บ โดยที่แท็บ Home นั้นจะเก็บรวบรวมคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ หรือ ใช้ในการวาดรูปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละกลุ่มคำสั่งดังนี้

คำสั่งในกลุ่ม Tool
เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้เกี่ยวกับการวาดรูป หรือ เรียกง่ายๆ ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวดรูป เช่น ดินสอยางลบ ถังสี หรือการพิมพ์ข้อความลงในรูป ซึ่งจะมีเครื่องมือ หรือคำสั่งอยู่ 6 คำสั่ง ดังนี้

Pencil |
ใช้วาดรูปตามอิสระ |
Fill with color |
ใช้ใส่สีให้กับวัตถุ |
Text |
ใช้ใส่ข้อความลงไปในภาพ |
Eraser |
ใช้สำหรับลบส่วนที่ไม่ต้องการของภาพ |
Color Picker |
ใช้สำหรับเลือกสี ในกรณีที่ต้องการคัดลอกค่าสีจากภาพอื่นหรือส่วนอื่น ๆ |
Magnifier |
ใช้สำหรับย่อ และขยายพื้นที่ในการวาดภาพ |
วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Tool
คำสั่ง Pencil เป็นเครื่องมือที่ใช้วาดภาพตามอิสระ โดยการใช้เมาส์วาดภาพ ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
คำสั่ง Fill with color จะใช้เมื่อมีวัตถุ หรือ รูปภาพที่วาดขึ้นมาแล้ว และต้องการจะเติมสีให้กับรูปภาพนั้น โดยมีข้อแม้ว่าวัตถุนั้นจะต้องเป็นวัตถุแบบปิด ซึ่งก็คือ จุดเริ่มต้น และจุดสุดท้ายจะต้องชนกันพอดี ไม่มีส่วนที่เว้นว่างอยู่ ซึ่งมีวิธีการใช้งานคำสั่งดังนี้



คำสั่ง Text ใช้ในกรณีที่ต้องการพิมพ์ข้อความลงไปภายในภาพ ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้




คำสั่ง Eraser ใช้ในกรณีที่ต้องการลบส่วนที่ไม่ต้องการของภาพที่วาดขึ้น ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้


คำสั่ง Color picker ใช้ในกรณีที่ต้องการจะคัดลอกสีจากวัตถุหรือภาพต้นแบบ มีวิธีการใช้งานดังนี้


คำสั่ง Magnifier ใช้สำหรับย่อ - ขยายรูปภาพที่วาด หรือเรียกง่ายๆว่าซูมเข้า - ออกก็ได้ ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้




คำสั่ง Brushes
Brushes หรือ พู่กัน เป็นเครื่องมือที่ใช้วาดภาพเหมือนกับดินสอ หรือ Pencil ซึ่งวิธีการใช้งานนั้นก็จะเหมือนๆกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือจะมีลายเส้นเหมือนกับการใช้พู่กันในการวาด ซึ่งต่างจากลายเส้นของดินสอที่จะเป็นเพียงเส้นตรงที่เท่ากัน นอกจากนี้ Brushes ยังมีลักษณะลายเส้นแบบอื่นๆให้เลือกใช้อีกหลายรูปแบบ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

Brushes |
มีลักษณะเส้นดังนี้ |
 |
Calligraphy brush 1 |
มีลักษณะเส้นดังนี้ |
 |
Calligraphy brush 2 |
มีลักษณะเส้นดังนี้ |
 |
Airbrush |
มีลักษณะเส้นดังนี้ |
 |
Oil brush |
มีลักษณะเส้นดังนี้ |
 |
Crayon |
มีลักษณะเส้นดังนี้ |
 |
Marker |
มีลักษณะเส้นดังนี้ |
 |
Natural pencil |
มีลักษณะเส้นดังนี้ |
 |
Watercolor brush |
มีลักษณะเส้นดังนี้ |
 |
คำสั่งในกลุ่ม Shapes
เป็นคำสั่งที่ใช้สร้างรูปร่างสำเร็จรูปจากโปรแกรม โดยที่ไม่ต้องวาดขึ้นมาเอง อย่างเช่น รูปหัวใจ รูปดาว เป็นต้น และยังสามารถใส่สีลักษณะต่างๆให้รูปร่างโดยไม่ต้องใส่เอง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

Shapes |
ใช้วาด หรือ สร้างรูปร่างต่างๆ |
Outline |
ใช้กำหนดลักษณะของเส้นขอบรูปร่าง |
Shape fill |
ใช้กำหนดลักษณะสีพื้นของรูปร่าง |
วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Shapes
คำสั่ง Shapes มีวิธีการใช้งานดังนี้

คำสั่ง Outline มีวิธีการใช้งานดังนี้

คำสั่ง Shape fill มีวิธีการใช้งานดังนี้

คำสั่ง Size
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยนขนาดของเส้น หรือ เส้นขอบของวัตถุ ซึ่งก็คือจะใช้กำหนดขนาดของดินสอ พู่กัน ยางลบนั่นเอง ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้


ซึ่งขนาดของเส้นแต่ละคำสั่งนั้นจะไม่เหมือนกัน หรือไม่เท่ากันทั้งหมด ตัวอย่างเช่น

คำสั่งในกลุ่ม Color
เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดสีส่วนต่างๆ ของรูปภาพ ไม่ว่าจะเป็นสีเส้น สีพื้น ซึ่งจะแบ่งเป็น Color 1 , Color 2 และ ส่วนของการเลือกสี

Color 1 |
ใช้ในการเลือกสีของดินสอ พู่กัน การเทสีจากถังสี และสีตัวอักษร |
Color 2 |
เป็นสีพื้นหลัง คือ เมื่อใช้ยางลบลบส่วนที่ไม่ต้องการออก บริเวณที่ถูกลบ จะเป็นสีของ Color 2 หรือ ในกรณีที่สร้าง Shape ขึ้นมา สีพื้นของ Shape จะเป็นสีของ Color 2 นั่นเอง |
Edit colors |
เป็นคำสั่งที่ใช้เลือกสีอื่นๆเองตามต้องการ นอกจากสีที่โปรแกรมมีมาให้ |
คำสั่งในกลุ่ม Image

Select |
ใช้ในการเลือกสีของดินสอ พู่กัน การเทสีจากถังสี และสีตัวอักษร |
Crop |
ใช้ตัดให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการของรูปภาพ |
Resize |
ใช้เปลี่ยนขนาดของรูปภาพ |
Rotate |
ใช้หมุนรูปภาพ |
วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Image
คำสั่ง Select ใช้สำหรับเลือกส่วนต่างๆของภาพ ซึ่งภายในคำสั่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. Selection shapes ซึ่งมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ เลือกแบบสี่เหลี่ยม และ เลือกแบบอิสระตามต้องการ
2. Selection options โดยมีคำสั่งย่อยอยู่อีก 4 คำสั่ง ได้แก่
- Select all ใช้เลือกรูปภาพทั้งภาพ
- Invert selection ใช้เลือกส่วนที่ตรงกันข้ามกับการเลือกก่อนหน้านี้
- Delete ใช้ลบส่วนที่เลือกไว้
- Transparent selection ใช้กำหนดไม่ให้กรอบสี่เหลี่ยมเส้นประของการเลือกปรากฏขึ้น
ซึ่งขึ้นตอนในการใช้งานคำสั่ง Select นั้น มีวิธีการดังนี้


คำสั่ง Resize เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับขนาดของภาพทั้งหมด หรือในกรณีที่ใช้คำสั่ง Select เลือกวัตถุใดเอาไว้ก็จะเป็นการปรับขนาดเฉพาะส่วนที่เลือกไว้ ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้



คำสั่ง Rotate เป็นคำสั่งที่ใช้หมุนภาพทั้งหมด หรือในกรณีที่ใช้คำสั่ง Select เลือกวัตถุใดเอาไว้ก็จะเป็นการหมุนเฉพาะส่วนที่เลือกไว้ ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้


คำสั่งในกลุ่ม Clipboard

Cut |
ใช้ย้ายตำแหน่งของรูปภาพเฉพาะส่วนที่เลือก |
Copy |
ใช้คัดลอกรูปภาพเฉพาะส่วนที่เลือก |
Paste |
ใช้วางรูปภาพที่ก่อนหน้านี้ใช้คำสั่งย้าย หรือ คำสั่งคัดลอกมาก่อน |
วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Clipboard


กลุ่มคำสั่งต่างๆที่อยู่ในแท็บ View
แท็บ View จะเก็บรวบรวมคำสั่งที่ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนลักษณะการดู ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละกลุ่มคำสั่งดังนี้

คำสั่งต่างๆในกลุ่ม Zoom

Zoom in |
ใช้เพิ่มขนาดรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น |
Zoom out |
ใช้ลดขนาดรูปภาพให้มีขนาดเล็กลง |
100 % |
ใช้คืนค่ารูปภาพให้มีขนาดที่ 100 % ในกรณีที่ทำการย่อ หรือ ขยาย รูปภาพไปแล้ว |
โดยวิธีการใช้งานให้คลิกเลือกที่ปุ่มคำสั่งได้ทันที โปรแกรมก็จะแสดงมุมมองตามคำสั่งที่เลือกใช้
คำสั่งต่างๆ ในกลุ่ม Show or hide

Ruler |
คลิกให้มีเครื่องหมายถูก หากต้องการให้แสดงไม้บรรทัดบนหน้ากระดาษ |
Gridlines |
คลิกให้มีเครื่องหมายถูก หากต้องการให้แสดงเส้นตาราง |
Status bar |
คลิกให้มีเครื่องหมายถูก หากต้องการให้แสดงแถบสถานะทางด้านล่าง |
โดยวิธีการใช้งานให้คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำสั่งหากต้องการใช้งานคำสั่งนั้นๆ แต่หากไม่ต้องการใช้งานให้คลิกซ้ำอีกครั้งเพื่อยกเลิกการใช้งาน


คำสั่งต่างๆในกลุ่ม Display

Full screen |
ใช้แสดงรูปที่วาดให้เต็มหน้าจอ |
Thumbnail |
ใช้แสดงรูปอย่างย่อ (Thumbnail) ในกรณีที่ขยายรูปเกิน 100% |
โดยวิธีการใช้งานให้คลิกเลือกที่ปุ่มคำสั่งได้ทันที โปรแกรมก็จะแสดงมุมมองตามคำสั่งที่เลือกใช้

การจัดการไฟล์ในโปรแกรม Paint
เมื่อคลิกที่ปุ่ม Paint จะปรากฏคำสั่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไฟล์รูปภาพ ดังนี้

ในบางคำสั่งอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที เนื่องจากต้องมีโปรแกรม หรือ อุปกรณ์ที่รองรับคำสั่งนั้นๆ เช่นคำสั่ง Print หรือ From scanner or camera จะต้องมีการติดตั้งเครื่องพิมพ์ เครื่องสแกน หรือ ต่อเข้ากับกล้องดิจิตอลอยู่ก่อน จึงจะสามารถเลือกใช้งานได้ ซึ่งหากไม่มีอุปกรณ์ต่ออยู่ ปุ่มคำสั่งจะเป็นสีเทา และไม่สามารถเลือกใช้งานได้ หรือคำสั่ง Send in e-mail ก็จะต้องมีโปรแกรมที่รองรับในการส่งอีเมลด้วยจึงจะสามารถส่งรูปภาพไปทางอีเมลได้
การใช้งานคำสั่งย่อย จะสังเกตได้ว่าบางคำสั่ง จะมีรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ อยู่ทางด้านหลังอยู่แสดงว่ายังมีคำสั่งย่อยซ่อนอยู่อีก ซึ่งวิธีการเรียกใช้งานคำสั่งย่อยนั้นทำโดย เลื่อนเมาส์ไปยังคำสั่งที่มีคำสั่งย่อยอยู่ จากนั้นคำสั่งย่อยๆที่ซ่อนอยู่จะปรากฏขึ้นมาให้เองทันที จากนั้นค่อยเลื่อนเมาส์ไปที่คำสั่งย่อยๆนั้น แล้วคลิกเลือกที่คำสั่งย่อยที่ต้องการ

ประเภทของไฟล์ภาพที่ควรรู้จัก
• BMP (Bitmap) ไฟล์ภาพประเภทที่เก็บจุดของภาพแบบจุดต่อจุดตรงๆ เรียกว่าไฟล์แบบ “บิตแมพ (Bitmap)” ไฟล์ประเภทนี้จะมี ขนาดใหญ่แต่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการเก็บแบบ Bitmap ใช้เนื้อที่ในการเก็บจำนวนมาก จึงได้มีการคิดค้นวิธีการเก็บภาพให้มีขนาดเล็กลงโดยยังคงสามารถเก็บภาพได้เช่นเดิม ขึ้นมาหลายวิธีการ เช่น JPEG และ GIF
• JPEG (Joint Graphics Expert Group) เป็นการเก็บไฟล์ภาพแบบที่บีบอัด สามารถเก็บภาพได้ขนาดเล็กกว่าแบบ Bitmap หลายเท่า แต่เหมาะจะใช้กับภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่เหมาะกับการเก็บภาพเหนือจริง เช่น ภาพการ์ตูน เป็นต้น
• GIF (Graphics Interchange Format) เป็นวิธีการเก็บไฟล์ภาพแบบบีบอัดคล้ายกับ JPEG โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถเก็บภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติได้ มีขนาดเล็กเท่ากับแบบ JPEG แต่สามารถเก็บภาพที่ไม่ใช่ภาพถ่ายจากธรรมชาติ เช่น ภาพการ์ตูนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ GIF ยังสามารถเก็บภาพไว้ได้หลายๆ ภาพในไฟล์เดียวจึงถูกนำไปใช้สร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบง่ายๆ
• TIFF (Tagged Image File Format) คือการเก็บไฟล์ภาพในลักษณะเดียวกับไฟล์แบบ BMP แต่ในไฟล์มี Tagged Filed ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยโปรแกรมควบคุมการแสดงภาพ เช่น การแสดงหรือไม่แสดงภาพบางส่วนได้ ภาพที่เก็บไว้ในลักษณะของ TIFF จึงมีความพิเศษมากกว่าการเก็บแบบอื่นที่กล่าวมา


โปรแกรม Notepad
Notepad เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างเอกสารประเภทตัวอักษรอย่างง่าย มีความรวดเร็วในการเรียกใช้งาน แต่แม้ว่าจะไม่ได้ปรับปรุงให้มีคุณสมบัติโดดเด่นเหมือนกับอีกหลายๆโปรแกรม แต่ก็ยังเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่เหล่าโปรแกรมเมอร์ หรือ นักพัฒนาเว็บไซต์แบบ html นิยมใช้อยู่ ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
1. กด เพื่อค้นหา
2. พิมพ์คำว่า Notepad


การกำหนดค่าตัวอักษร
เมื่อพิมพ์ข้อความได้แล้ว และต้องการเปลี่ยนแบบอักษร หรือ ขนาดของตัวอักษรก็ทำได้ ดังนี้

จะปรากฎหน้าต่างของคำสั่ง Font ขึ้นมา ให้เลือกปรับรูปแบบ สไตล์ และ ขนาดตัวอักษรตามต้องการ แล้วคลิกที่ปุ่ม OK

การคัดลอก และ ย้ายข้อความในโปรแกรม Notepad
ในกรณีที่ต้องการคัดลอก หรือ ย้ายตำแหน่งข้อความภายในเอกสาร มีวิธีการดังนี้

การบันทึกไฟล์เอกสารในโปรแกรม Notepad
เมื่อพิมพ์ข้อความ หรือเนื้อหาในเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว และต้องการที่จะบันทึกไฟล์เอกสารเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป สามารถทำได้ดังนี้


การสร้างเอกสารใหม่ในโปรแกรม Notepad
ในกรณีที่บันทึกไฟล์งานเรียบร้อยแล้ว และต้องการที่จะเริ่มพิมพ์งานเอกสารใหม่ต่อไป ก็จะต้องสร้างเอกสารใหม่ขึ้นก่อน ซึ่งมีวิธีการดังนี้


การแทรกเวลาและวันที่ในเอกสาร
ในโปรแกรม Notepad มีคำสั่งที่ใช้ในการแทรกวันที่ และ เวลาปัจจุบันลงในหน้าเอกสารให้อัตโนมัติ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยมีวิธีการดังนี้


การปิดเอกสาร หรือ ปิดโปรแกรม Notepad
ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้งานเอกสาร หรือ ไม่ใช้งานโปรแกรมแล้ว ต้องการจะปิดเอกสาร หรือ ออกจากโปรแกรม มี 2 วิธีการดังนี้




โปรแกรม WordPad
WordPad เป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งจัดว่าเป็นประเภทเดียวกับ Notepad แต่มีความสามารที่สูงกว่า คือ WordPad การรองรับไฟล์วัตถุอื่นๆอย่างไฟล์รูปภาพ ไฟล์ภาพวาด (ทำงานสัมพันธ์ กับโปรแกรม Paint) รวมถึงไฟล์ประกอบจากโปรแกรมอื่นๆอีกด้วย ซึ่งในเวอร์ชั่นนี้ ทาง Microsoft ก็ได้นำคุณสมบัติ Ribbon เข้ามาใช้ด้วยเช่นกัน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การเรียกใช้เมนูคำสั่งต่างๆสะดวกและรวดเร็วขึ้นแล้ว ก็ยังทำให้หน้าต่างโปรแกรมดูสวยงามขึ้น อีกทั้งยังสามารถอ่านเอกสารนามสกุล .docx ซึ่งเป็นไฟล์เอกสารของ Word 2007 ได้อีกด้วย โดยมีวิธีการใช้งานดังนี้
1. กด เพื่อค้นหา
2. พิมพ์คำว่า Wordpad


ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Wordpad

ไอคอนโปรแกรม |
-แสดงสัญลักษณ์ของโปรแกรม เมื่อคลิกแล้วจะปรากฎเมนูควบคุมหน้าต่างขึ้นมา หรือ จะใช้วิธีกดปุ่ม Alt + spacebar ก็ได้ |
Quick access Toolbar |
-ใช้เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น New , Open , Save , Print Preview เป็นต้น |
Title bar |
-ส่วนที่บอกชื่อของเอกสาร และ ชื่อโปรแกรม |
ปุ่มควบคุมหน้าต่าง |
-เป็นปุ่มที่ใช้ควบคุมหน้าต่างโปรแกรม ซึ่งจะเป็นปุ่มที่ทำหน้าที่ เหมือนคำสั่งใน ไอคอนโปรแกรม คือ ปุ่มย่อ ขยาย ปิด หน้าต่างโปรแกรม |
ปุ่ม Wordpad |
-เป็นปุ่มสำหรับเรียกใช้คำสั่ง ซึ่งคำสั่งก็จะเหมือนๆกับใน Quick access Toolbar จะแตกต่างตรงที่มีบางคำสั่งเพิ่มเติมขึ้นมามากกว่า Quick access Toolbar เท่านั้น |
แท็บ Home และ View |
-เป็นที่เก็บรวบรวมคำสั่งต่างๆไว้ ซึ่งจะแบ่งคำสั่งออกเป็นกลุ่มๆอีกทีหนึ่ง |
Ribbon |
-กลุ่มของคำสั่งต่างๆที่ใช้ในโปรแกรม โดยจะแบ่งออกเป็นแท็บ |
พื้นที่ทำงาน |
-ใช้สำหรับพิมพ์ตัวอักษร หรือ ตัวเลขต่าง ๆ ในเอกสาร |
Status bar |
-จะมีเครื่องมือที่ใช้ในการย่อ หรือ ขยายหน้าต่างของโปรแกรมอยู่ทางด้านขวามือ |
การพิมพ์เอกสาร
- วางตำแหน่งของตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์ โดยการคลิกเมาส์บนพื้นที่ที่ใช้พิมพ์งานจะปรากฏสัญลักษณ์กระพริบอยู่ เราเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า “เคอร์เซอร์ (Cursor)” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าอยู่ในสภาวะพร้อมที่จะพิมพ์เอกสารได้
- พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
- กด Enter เมื่อต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่
- ใช้ปุ่ม Backspace และ Delete เพื่อลบตัวอักษร
ตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์
เส้นตั้งที่กระพริบอยู่ตลอดเวลา จะเป็นตัวบอกถึง
ตำแหน่งที่จะพิมพ์ข้อความลงไป การกำหนดตำแหน่ง ของตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์ จะกระทำได้ดังนี้

- คลิกยังตำแหน่งที่ต้องการแล้วจะปรากฏเคอร์เซอร์แสดงว่า สามารถพิมพ์ตัวอักษร หรือ ข้อความลงไปได้
- การควบคุมตำแหน่งของเคอร์เซอร์โดยการใช้คีย์บอร์ด


กลุ่มคำสั่งต่างๆที่อยู่ในแท็บ Home
ในโปรแกรม WordPad เวอร์ชั่นนี้ ปุ่มคำสั่งต่างๆจะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่แท็บ โดยที่แท็บ Home นั้นจะเก็บรวบรวมคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ หรือ ใช้กำหนดค่าต่างๆให้กับเอกสาร เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละกลุ่มคำสั่งดังนี้

คำสั่งในกลุ่ม Clipboard

Cut ใช้ย้ายตำแหน่งของข้อความ หรือ ตัวอักษร
Copy ใช้คัดลอกข้อความ หรือ ตัวอักษรขึ้นมาอีก 1 ชุด
Paste ใช้วางข้อความที่ก่อนหน้านี้ใช้คำสั่งย้าย หรือ คำสั่งคัดลอกมาก่อน
วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Clipboard

ซึ่งวิธีใช้งานคำสั่งต่างๆนั้น จะต้องเลือกข้อความ หรือตัวอักษรก่อน จากนั้นจึงค่อยเลือกใช้คำสั่งต่างๆได้
การเลือกข้อความ
วิธีที่ 1 การเลือกโดยการคลิกลากเอง

วิธีที่ 2 การเลือกข้อความโดยใช้ Selection bar
Selection bar เป็นแถบว่าง ๆ ที่อยู่ด้านซ้ายสุดของพื้นที่พิมพ์เอกสาร เมื่อเลื่อนเมาส์มาอยู่ในส่วนนี้ จะเปลี่ยนเป็นรูป ซึ่งการเลือกโดย Selection bar มีรายละเอียดดังนี้
คลิกที่ Selection bar ในต้นบรรทัดนั้น

คลิกที่ Selection bar ในต้นบรรทัดนั้นค้างไว้ แล้วลากเมาส์ขึ้นหรือลงใน Selection bar

ดับเบิ้ลคลิกที่ Selection bar ในแนวของย่อหน้านั้น

กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกที่ตำแหน่งใด ๆ ใน Selection bar หรือ คลิก 3 ครั้งติดกันที่ตำแหน่งใด ๆใน Selection bar

คำสั่งต่างๆ ในกลุ่ม Font

Font family |
- ใช้กำหนดแบบอักษร
|
Font size |
-ใช้กำหนดขนาดตัวอักษรตามหมายเลขที่ต้องการ
|
Grow font |
-ใช้เพิ่มขนาดของตัวอักษรไปเรื่อยๆตามจำนวนครั้งที่คลิก |
Shrink font |
-ใช้ลดขนาดของตัวอักษรไปเรื่อยๆตามจำนวนครั้งที่คลิก
|
Bold |
-ใช้กำหนดให้ตัวอักษรมีความหนา |
Italic |
-ใช้กำหนดให้ตัวอักษรเอียง |
Underline |
-ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความ |
Strikethrough |
- ใช้เมื่อต้องการให้มีเส้นขีดทับบนข้อความ |
Text highlight color |
-ใช้เน้นข้อความด้วยสี เหมือนกับปากกาไฮไลท์ |
Text color |
-ใช้กำหนดสีของตัวอักษร |
Superscript |
-ใช้กำหนดตัวยก หรือ เลขยกกำลัง |
Subscript |
-ใช้กำหนดตัวห้อย |
ซึ่งวิธีการใช้คำสั่งต่างๆด้านบนนั้นจะต้องเลือกข้อความ หรือ ตัวอักษรที่ต้องการปรับแต่งก่อนแล้วจึงค่อยใช้คำสั่งต่างๆเหล่านั้นได้
คำสั่งต่างๆในกลุ่ม Paragraph

Decrease indent |
- ใช้ลดระยะการเยื้องของย่อหน้า
|
Increase indent |
- ใช้เพิ่มระยะการเยื้องของย่อหน้า
|
Start a list |
- ใช้เพิ่มสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย |
Line spacing |
- ใช้กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัด
|
Align text left |
- ใช้จัดตำแหน่งข้อความให้ชิดขอบทางซ้าย |
Center |
- ใช้จัดตำแหน่งข้อความให้อยู่ตรงกลาง |
Align text left |
- ใช้จัดตำแหน่งข้อความให้ชิดขอบทางขวา |
Justify |
- ใช้จัดตำแหน่งข้อความความให้กระจายเต็มบรรทัด |
Paragraph |
- ใช้เปิดไดอะล็อคบล็อคของการกำหนดย่อหน้า ดังนี้ |

คำสั่งต่างๆในกลุ่ม Insert

Picture |
- ใช้ใส่รูปภาพลงในเอกสาร |
Paint drawing |
- ใช้แทรกรูปภาพที่วาดขึ้นจากโปรแกรม Paint ลงในเอกสาร
|
Data and time |
- ใช้ใส่วันที่ และ เวลาลงในเอกสาร |
Insert object |
- ใช้แทรกวัตถุอื่นๆ เช่น สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ลงในเอกสาร
|
วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Insert
คำสั่ง Picture มีวิธีการใช้งาน ดังนี้


ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนรูปภาพเป็นรูปอื่น ให้คลิกที่ Picture แล้วเลือก Change picture และ หากต้องการเปลี่ยนขนาดของรูปภาพ ให้คลิกที่ Picture แล้วเลือก Resize picture หรือ จะใช้เมาส์คลิกลากที่มุมรุปภาพเพื่อปรับขนาดรูปภาพก็ได้

และหากต้องการลบรูปภาพ ให้คลิกที่รูปภาพจนเกิดเส้นกรอบล้อมรอบที่รูปภาพจากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์
คำสั่ง Paint drawing มีวิธีการใช้งาน ดังนี้




คำสั่ง Date and time มีวิธีการใช้งาน ดังนี้


คำสั่ง Insert object มีวิธีการใช้งาน ดังนี้



คำสั่งต่างๆ ในกลุ่ม Editing

Find |
- ใช้ค้นหาคำ หรือ ข้อความที่ต้องการ
|
Replace |
- ใช้ค้นหาคำที่ต้องการ แล้วแทนที่คำใหม่ลงไปแทนคำที่ค้นหา |
Select all |
- ใช้เลือกข้อมูลทั้งหมดในเอกสาร |
วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Editing
คำสั่ง Find มีวิธีการใช้งาน ดังนี้





คำสั่ง Replace มีวิธีการใช้งาน ดังนี้



คำสั่ง Select All มีวิธีการใช้งาน ดังนี้


กลุ่มคำสั่งต่างๆ ที่อยู่ในแท็บ View
แท็บ View จะเก็บรวบรวมคำสั่งที่ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนลักษณะการดูหน้าเอกสาร ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละกลุ่มคำสั่งดังนี้

คำสั่งต่างๆในกลุ่ม Zoom

Zoom in |
- ใช้เพิ่มขนาดหน้าเอกสารให้มีขนาดใหญ่ขึ้น |
Zoom out |
- ใช้ลดขนาดหน้าเอกสารให้มีขนาดเล็กลง |
100 % |
- ใช้คืนค่าหน้าเอกสารให้มีขนาดที่ 100 % ในกรณีที่ทำการย่อ หรือ ขยาย หน้าเอกสารไปแล้ว |
โดยวิธีการใช้งานให้คลิกเลือกที่ปุ่มคำสั่งได้ทันที โปรแกรมก็จะแสดงมุมมองตามคำสั่งที่เลือกใช้
คำสั่งต่างๆ ในกลุ่ม Show or hide

Ruler |
- คลิกให้มีเครื่องหมายถูก หากต้องการให้แสดงไม้บรรทัดบนหน้าเอกสาร |
Status bar |
- คลิกให้มีเครื่องหมายถูก หากต้องการให้แสดงแถบสถานะทางด้านล่าง |
โดยวิธีการใช้งานให้คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำสั่ง หากต้องการใช้งานคำสั่งนั้นๆ แต่หากไม่ต้องการใช้งานให้คลิกซ้ำอีกครั้งเพื่อยกเลิกการใช้งาน
คำสั่งต่างๆในกลุ่ม Settings

Word wrap |
- ใช้กำหนดรูปแบบหรือลักษณะการแสดงของข้อความบนหน้าจอ
|
Measurement units |
- ใช้เปลี่ยนหน่วยของไม้บบรทัด เช่น เซนติเมตร , นิ้ว เป็นต้น |
โดยวิธีการใช้งานให้คลิกที่คำสั่งนั้นๆก่อน จากนั้นจะปรากฏคำสั่งย่อยขึ้นมาให้ จากนั้นจึงค่อยคลิกเลือกที่คำสั่งย่อยที่ต้องการอีกครั้งหนึ่ง

การบันทึกเอกสาร
เมื่อพิมพ์เอกสารแล้วต้องการบันทึกไฟล์เอกสารนั้น เพื่อเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป โดยวิธีการบันทึกเอกสารทำได้ดังนี้
วิธีที่1 คลิกที่ปุ่ม ที่ Quick access Toolbar

วิธีที่ 2 คลิกที่ปุ่ม WordPad แล้วเลือกคำสั่ง Save หรือ Save as ในกรณีที่ต้องการเซฟเป็นไฟล์ใหม่อีก1ไฟล์



การเปิดเอกสารกลับขึ้นมาใช้งาน
เมื่อบันทึกเอกสารต่างๆ เป็นไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว และต้องการจะเปิดเอกสารนั้นขึ้นมาแก้ไข หรือ เพิ่มเนื้อหาลงไป สามารถเปิดเอกสารที่บันทึกไว้นั้นมาเรียกใช้งานต่อได้ โดยมีวิธีการดังนี้
วิธีที่ 1 คลิกที่ปุ่ม WordPad แล้วเลือกที่ชื่อเอกสารที่ต้องการ ในส่วนของ Recent documents

วิธีที่ 2 คลิกที่ปุ่ม WordPad แล้วเลือกที่คำสั่ง Open โปรแกรมจะให้เลือกตำแหน่งและ ชื่อไฟล์ที่ต้องการเปิดใช้งานขึ้นมาให้

วิธีที่ 3ในกรณีที่เลือกให้มีคำสั่งเปิดบน Quick access Toolbar ให้คลิกที่ปุ่ม ได้เลย

การสร้างเอกสารใหม่
ในขณะที่เปิดไฟล์เอกสารอยู่แล้ว และต้องการสร้างงานเอกสารขึ้นมาใหม่อีก 1 เอกสาร เป็นเอกสารเปล่าๆ เหมือนกับตอนเปิดโปรแกรม WordPad ขึ้นมาใช้งานนั้น มีวิธีการดังนี้
วิธีที่ 1 คลิกที่ปุ่ม WordPad แล้วเลือกที่คำสั่ง New โปรแกรมจะเปิดเอกสารเปล่าขึ้นมาให้

วิธีที่ 2 ในกรณีที่เลือกให้มีคำสั่งสร้างเอกสารใหม่บน Quick access Toolbar ให้คลิกที่ปุ่ม ได้เลย

การตั้งค่าหน้ากระดาษ
ในกรณีที่สร้างเอกสารใหม่ขึ้นมาแล้ว และต้องการจะตั้งค่าหน้ากระดาษ เช่น ระยะขอบด้านบน ขอบด้านล่าง หรือ ขนาดของกระดาษ รวมไปถึงวิธีการป้อนกระดาษในเครื่องพิมพ์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้มากที่สุด มีวิธีการดังนี้

การสั่งพิมพ์เอกสาร
เมื่อทำงานในเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องการที่จะสั่งพิมพ์เอกสารออกมาทางเครื่องพิมพ์ เพื่อนำไปใช้งานต่อ มีวิธีการดังนี้

ในกรณีที่ต้องการพิพม์เอกสารออกมาอย่างเร่งด่วน สามารถสั่งพิมพ์เอกสารออกมาได้ทันที จากคำสั่ง Quick Print โดยที่โปรแกรมจะพิมพ์เอกสารออกมาทางเครื่องพิมพ์ที่ตั้งไว้เป็นเครื่องพิมพ์เริ่มต้น และพิมพ์เอกสารออกมาให้เพียง 1 ชุด ซึ่งจะแตกต่างกับการใช้คำสั่ง Print ตรงที่ไม่สามารถระบุเครื่องพิมพ์เป็นเครื่องอื่นๆได้ ในกรณีที่ได้ติดตั้งเครื่องพิมพ์ไว้หลายเครื่อง และ ไม่สามารถระบุจำนวนชุดของการพิมพ์เอกสารให้มากกว่า 1 ชุดได้ ซึ่งการสั่งพิมพ์แบบเร่งด่วน มีวิธีการดังนี้
วิธีที่ 1จากปุ่ม WordPad


วิธีที่ 2 ในกรณีที่เลือกให้มีคำสั่งพิมพ์ด่วนบน Quick access Toolbar ให้คลิกที่ปุ่ม ได้เลย

การดูตัวอย่างเอกสารก่อนพิมพ์
ในกรณีที่ต้องการตรวจดูเอกสารก่อนที่จะสั่งพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์นั้น มีวิธีการดังนี้
วิธีที่ 1จากปุ่ม WordPad
วิธีที่ 2ในกรณีที่เลือกให้มีคำสั่งดูตัวอย่างก่อนพิมพ์บน Quick access Toolbar ให้คลิกที่ปุ่ม ได้เลย

การปิดเอกสาร หรือ ปิดโปรแกรม
เมื่อทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องการจะปิดเอกสารนั้นๆ หรือ ต้องการออกจากโปรแกรม WordPad ทำได้โดยมีวิธีการดังนี้
วิธีที่ 1จากปุ่ม WordPad

วิธีที่ 2 จากปุ่ม บนหน้าต่างโปรแกรม

วิธีที่ 3 จากไอคอนโปรแกรม บนหน้าต่างโปรแกรม

วิธีที่ 4 ปิดจากปุ่ม Alt + F4 บนแป้นพิมพ์
โดยให้กดปุ่ม Alt แล้วกดปุ่ม F4 ที่แป้นพิมพ์ โปรแกรมจะถูกปิดทันที



 |